การแกะสลักผลไม้
1. การเลือกซื้อผักและผลไม้ ควรเลือกชนิดที่มีความสดใหม่ เพื่อจะช่วยให้ผลงานที่แกะสลัก มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น
2. ก่อนนำผักและผลไม้ไปแกะสลัก ควรล้างน้ำให้สะอาด
3. การเลือกมีดแกะสลัก ควรเป็นมีดสแตนเลส หรือมีดทองเหลือง ซึ่งมีดต้องคมมาก เพราะจะทำให้ผักและผลไม้ไม่ช้ำและไม่ดำ
4. การเลือกชนิดของผักและผลไม้แกะสลัก ควรเลือกให้เหมาะกับประโยชน์การนำไปใช้
5. การเลือกรูปแบบหรือลวดลายที่จะแกะควรเลือกให้เหมาะกับการนำไปใช้ประโยชน์
6. การเลือกผัก ผลไม้ตกแต่งอาหารควรเลือกชนิดที่มีสีสวยงาม หลากหลาย เพื่อจะทำให้อาหารน่ารับประทานขึ้น
7. การแกะสลักต้องพยายามรักษาคุณค่าอาหาร โดยไม่ควรแช่น้ำนานเกินไป
2. ก่อนนำผักและผลไม้ไปแกะสลัก ควรล้างน้ำให้สะอาด
3. การเลือกมีดแกะสลัก ควรเป็นมีดสแตนเลส หรือมีดทองเหลือง ซึ่งมีดต้องคมมาก เพราะจะทำให้ผักและผลไม้ไม่ช้ำและไม่ดำ
4. การเลือกชนิดของผักและผลไม้แกะสลัก ควรเลือกให้เหมาะกับประโยชน์การนำไปใช้
5. การเลือกรูปแบบหรือลวดลายที่จะแกะควรเลือกให้เหมาะกับการนำไปใช้ประโยชน์
6. การเลือกผัก ผลไม้ตกแต่งอาหารควรเลือกชนิดที่มีสีสวยงาม หลากหลาย เพื่อจะทำให้อาหารน่ารับประทานขึ้น
7. การแกะสลักต้องพยายามรักษาคุณค่าอาหาร โดยไม่ควรแช่น้ำนานเกินไป
การจับมีดแกะสลักผักและผลไม้
วิธีการจับมีดแกะสลักนั้น มีความสำคัญต่อชิ้นงานที่แกะสลักมาก การจับมีดแกะสลักที่ถูกต้อง จะทำให้ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย และเพื่อความรวดเร็วในการทำงาน ผลงานที่ได้ก็จะมีความประณีต สวยงาม การจับมีดแกะสลักมีวิธีการ ดังนี้
1. การจับมีดแกะสลักแบบการหั่นผัก
การจับมีดแบบหั่นผัก มือขวาจับมีด นิ้วหัวแม่มือวางอยู่บนสันมีด ในลักษณะสบาย ๆ อย่าให้แน่นเกินไป ไม่ต้องเกร็งมือ ใช้มือซ้ายจับวัสดุที่แกะสลักโดยให้นิ้วชี้มือซ้ายวางอยู่บนงานที่แกะสลัก ใช้นิ้วชี้มือขวากดสันมีด นิ้วหัวแม่มือขวาคอยประคองด้ามมีดไว้ ส่วนอีก 3 นิ้ว จับด้ามมีดไว้
2. การจับมีดแบบดินสอ
การจับมีดแบบดินสอ มือขวาจับด้ามมีดโดยให้นิ้วชี้กดสันมีดไว้ เหลือปลายมีด ประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร นิ้วที่เหลือแตะอยู่บนงานที่แกะสลัก มือซ้ายจับงานแกะสลักตามลักษณะของงาน
การเก็บรักษามีด
1. หลังใช้งานแล้วต้องทำความสะอาดทุกครั้ง วัสดุที่นำมาแกะสลักบางชนิดมียาง ต้องล้างยางที่คมมีดด้วยมะนาว หรือน้ำมันพืชก่อน แล้วจึงล้างด้วยน้ำให้สะอาด เช็ดให้แห้งเก็บปลายมีดในฝักหรือปลอด
2. หมั่นดูแลมีดแกะสลักให้มีความคมสม่ำเสมอเวลาใช้งานแกะสลักผักและผลไม้จะได้ไม่ช้ำ โดยหลังการใช้ต้องลับคมมีดทุกครั้ง เช็ดให้แห้งเก็บใส่กล่องไว้ให้พ้นมือเด็ก
3. ควรเก็บมีดแกะสลักในปลอกมีดเพื่อป้องกันไม่ให้ปลายมีดกระทบของแข็ง จะทำให้ปลายมีดหักหรืองอได้
วัสดุและอุปกรณ์
การฝึกทักษะ การเกลา การแกะสลัก (การแกะสลักฟักทองเป็นดอกรักเร่)
วัสดุและอุปกรณ์
1.ฟักทอง 2.มีดแกะสลัก 3.เขียง 4.ถาดรอง 5.ผ้าเช็ดทำความสะอาด 6.อ่างใส่น้ำ ขั้นตอนการทำ
ที่มา http://bbt.ac.th
| 1. ตัดฟักทองให้เป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตัดเหลี่ยมทั้ง 4 ด้านออก 2. เกลาชิ้นฟักทอง ให้มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม 3. แกะสลักเกสรโดยใช้มีดปัก 90 องศา และปาดเนื้อออก 4. แกะสลักเกสรหันปลายกลีบเข้าหาจุดศูนย์กลาง ปาดเนื้อกลางกลีบให้เป็นร่อง 5. แบ่งระยะกลีบ ปาดเนื้อกลางกลีบให้เป็นร่อง และแกะสลักกลีบให้ปลายแหลม 6. ดอกรักเร่กลีบด้านข้าง จากโค้งเล็กน้อย มีปลายแหลม ปาดเนื้อใต้กลีบออกทุกครั้ง กลีบจึงจะเด่น 7. แกะสลักกลีบชั้นต่อไป ให้สับหว่าง เช่นนี้จนจบ 8. ดอกรักเร่ที่สำเร็จ จะเป็นดั่งรูป |